เราเดินทางไปยังดินแดนลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อพูดคุยกับเกษตรกรที่ปลูกยางพาราใน ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ที่เป็นผู้ที่ทำยางแรกๆ ของ จ.หนองคาย นั่นคือ อาจารย์ไมตรี ประเสริฐสังข์ อดีตข้าราชการครูที่ริเริ่มปลูกยางพารามาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2532 และมีพื้นที่ถึง 30 ไร่
อ.ไมตรีเท้าความให้ฟังว่าหลังจากที่สอบครูได้ ครอบครัวก็ซื้อที่ดินใน อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ซึ่งเจ้าของเดิมทำเป็นไร่มันสำปะหลัง เนื่องจากเมื่อก่อนเคยทำสวนผลไม้อยู่ที่ชลบุรีคุณพ่อจึงคิดจะทำสวนผลไม้ แต่เมื่อคิดๆ ดูแล้วการทำสวนผลไม้นั้นมีรายละเอียดหลายอย่าง มีการใช้สารเคมีค่อนข้างมากในการป้องกันและกำจัดโรค-แมลง ทั้งยังต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิดอีกด้วย ท้ายที่สุดจึงตกผลึกที่พืชเศรษฐกิจอย่างยางพารานั่นเอง
ผมก็เลยลองปรึกษาเพื่อนรุ่นพี่่ที่อยู่จังหวัดตรัง ว่ามียางพันธุ์ไหนให้น้ำยางมากที่สุด ก็ได้ข้อมูลว่าเป็น KT.311 ของนายขำตรัง และ RRIM 600 ผมจึงเลือก 2 พันธุ์นี้แล้วมาปลูกเปรียบเทียบกัน แล้วก็ตั้งสันนิฐานแบบวิทยาศาสตร์ว่าถ้าเอามาปลูกภาพอีสานที่ไม่ได้มีฝนตกชุกแบบภาคใต้ผลผลิตจะยังสูงอยู่ไหม
อ.ไมตรีพูดถึงการตัดสินใจในการปลูกยางพาราในครั้งแรก
แล้วก็ไม่ผิดหวัง เพราะว่าทั้ง KT11 และ RRIM600 นั้นโตเร็ว ให้ผลผลิตสูง แต่ ยางพันธุ์ KT.311
มีข้อดีกว่าที่เปลือกนิ่ม กรีดง่าย ท่อน้ำยางตื้น ไม่ต้องกรีดลึก ถ้าคนเคยกรีด RRIM
600, PB 251, GT 1
หรือตัวอื่นๆ มาก่อนจะรู้ว่าแตกต่าง
ท่อน้ำยางอยู่ตื้นสัมผัสนิดเดียวน้ำยางก็ออกมาก
ต้องคอยระวังเพราะถ้ากรีดลึกไปท่อน้ำยางจะเสีย ที่สำคัญคือ KT.311 กรีด 1 มีด ได้น้ำยางมากถึง 1.3 - 1.4 ลิตร
ส่งผลให้มีผลผลิตเฉลี่ยมากถึง 630 กก./ต้น/ปี ในขณะที่ RRIM.600
ให้ผลผลิตอยู่ที่ 352 กก./ไร่/ปี
ถ้าช่วงไหนฝนตกน้ำยางจะออกเยอะ หากฝนตกวันนี้ที่เป็นวันพักกรีดพอดี แล้วอีก 1-2 วันถึงวันกรีดนี่จะได้น้ำยางเยอะเลย เราพูดได้ขนาดนี้ก็เพราะปลูกไปแล้วรุ่นหนึ่ง โค่นไปแล้วรุ่นหนึ่ง พอปลูกใหม่เราก็ปลูก KT.311เพราะเรามีประสบการณ์
ยางพารา KT.311 ที่ปลูกรุ่นใหม่มีอายุประมาณ 5 ปี ต้นโตพอสมควร บางคนก็มองว่าน่าจะกรีดได้แล้ว แต่อาจารย์แนะนำจากประสบการณ์ว่ารอให้ต้นได้อายุครบกรีดจริงๆ หรือ วัดรอบต้นได้ 50 ซม. จะดีกว่า โดยมีดแรกที่กรีดนั้นให้มีความสูงจากพื้นประมาณ 150 ซม. จะดีที่สุด
เนื่องจากถ้าเริ่มกรีดต้นยางพาราที่ยังอายุไม่ครบดีนั้นแม้ว่าจะมีน้ำยางออกมาเหมือนกัน
แต่พอถึงตอนที่อายุครบกรีดจริงๆ น้ำยางจะไหลช้า
มีน้ำยางออกน้อยกว่าต้นที่กรีดตามอายุ
เพราะท่อน้ำยางยังไม่เจริญเต็มที่และท่อน้ำยางอาจถูกทำลายได้
แต่ชาวบ้านก็ถามนะว่าถ้าน้ำยางไม่ค่อยออกแล้วจะเอาอะไรมากระตุ้น ผมก็แนะนำ อีเทรล 5% (ยาเร่งน้ำยาง) มาทาหน้ายางน้ำยางก็ออกมาได้ แต่ก็ไม่ดีเท่ากับรอให้ต้นได้อายุ ได้ขนาด ครบเวลากรีดจริงๆ ถ้าเรากรีดก่อนต้องใช้เวลาไปอีกประมาณ 2 ปีกว่าจะกลับมาได้น้ำยางเต็มที่อีกครั้ง เช่น สมมุติยางอายุ 7 ปี ต้องรอไปปีที่ 9 ถึงจะได้เต็มที่ นี่คือประสบการณ์ที่เราประสบมา
ในตอนท้าย อ.ไมตรีให้คำแนะนำกับผู้ที่ต้องการปลูกยางพาราว่าควรเริ่มกรีดเมื่อต้นยางได้ขนาด
ได้อายุตามกำหนด นอกจากนั้นเทคนิคการแต่งกิ่งก็มีความสำคัญ
เพราะในอีสานลมค่อนข้างแรงจึงควรแต่งกิ่งให้น้อย กิ่งโปร่ง
จะทำให้ต้นยางมีขนาดใหญ่ และลู่ลมได้ดี
มีโอกาสที่กิ่งจะหักน้อยกว่าต้นที่ทรงพุ่มใหญ่มีกิ่งมาก
ขอขอบคุณ
อ.ไมตรี ประเสริฐสังข์
ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่
จ.หนองคาย
ไม่มีความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น