Follow Me

พันธุ์ยาง “นายขำ” โตไว 5 ปี กรีดให้น้ำยาง 500 กก./ไร่/ปี

การแพร่ระบาดอย่างหนักของพันธุ์ยางพาราของต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศมาเลเซียเป็นข่าวที่ผู้เขียนได้ยินเสมอและยิ่งหนาหูมากขึ้นก็ในห้วงที่ยางพาราอยู่ในช่วง ขาขึ้น ค่าตัว น้ำยาง เพิ่มสูงขึ้นจนต้องจดบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ 

นักวิเคราะห์ระดับเซียนวิเคราะห์ว่าน่าจะเฉี่ยวๆ 200 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้พื้นที่ปลูกยางถูก ขยายพันธุ์” ออกไปอย่างรวดเร็วทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เท่าๆ กับความต้องการ กล้ายาง” ที่ถือเป็น ปฐมบท แห่งการปลูกยางพารา

เพราะพันธุ์ยาง คือ หัวใจ ของการผลิตน้ำยางด้วย เพราะต้องใช้ เวลา เลี้ยงต้นให้สมบูรณ์พร้อมแก่การลงคมมีดกรีดก็อย่างน้อย 6-7 ปี และยังต้องเลี้ยงต้นเก็บน้ำยางไปอีกไม่ต่ำกว่า 20 ปี สำคัญพอๆ กับการเลือกคู่ชีวิตเลยทีเดียว หากเลือกพันธุ์ไม่ดี เช่น โตช้า และปริมาณน้ำยางน้อย เป็นต้น นั่นหมายความว่าจะต้องทนกรีดยาง ห่วยๆ ไปอีกนาน

ขณะที่สายพันธุ์ยางพาราที่ชาวสวนนิยมปลูกและภาครัฐส่งเสริมกMลับเป็นพันธุ์ที่ปลูกกันมานานหลายสิบปี ไม่มีการพัฒาและปรับปรุงให้มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้น อย่าง “RRIM600” เป็นต้น เกษตรกรปลูกมาหลายสิบปี ซึ่งพิสูจน์ด้วยข้อมูลแล้วว่าให้ผลผลิตต่ำกว่าของมาเลเซีย ซ้ำยังโตไวสามารถกรีดได้เร็วกว่า เพียง 4-5 ปี ก็เรียกน้อยางได้แล้ว ข่าวการลักลอบนำพันธุ์ยางมาเลย์มาขายในเมืองไทยจึงเพิ่มมากขึ้น แม้จะมีความเสี่ยงผิดกฎหมายที่ห้ามผลิตพันธุ์ยางที่ไม่ได่รับรองจากกรมวิชาการเกษตร และยังเสี่ยงต่อการถูกหลอกด้วยพันธุ์ ย้อมแมว แต่กลับมีคนใจกล้ายอมเสี่ยงมากขึ้นทุกทีๆ

คำถามก็คือ เหตุใดชาวสวนยางจึงต้องไปซื้อยางพันธุ์เสี่ยงจากมาเลย์มาปลูกทั้งๆ ที่รู้ว่าผิดกฎหมาย...???
ปริมาณน้ำยาง จากพันธุ์ KT.311
คำตอบที่ตรงกันก็คือ ยางพันธุ์ไทยสู้พันธุ์มาเลย์ไม่ได้ ไม่สามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้ชาวสวนได้ นั่นหมายความว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลัง บกพร่องในหน้าที่ ไม่สามารถพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติทัดเทียมต่างประเทศได้ ต้องถูกขี่คออยู่ตลอด

ขณะเดียวกันสายพันธุ์ยางที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับของมาเลย์ก็ไม่ได้รับการเหลียวแลจากภาครัฐ ซ้ำกลับถูกมองในแง่ลบ เพราะเป็น ปฏิปักษ์ กับ พ.ร.บ.ยางว่าด้วยเรื่องสายพันธุ์ จนต้องทำการผลิตและขายแบบ ใต้ดิน หนึ่งในพันธุ์ยางนั้นคือ “KT.311”

ใช้เวลาปลูกแค่ 5 ปี ก็พร้อมกรีด ให้ผลผลิตสูงถึง 500 กก./ไร่/ปี เป็นข้อมูลที่ ตบหน้า หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง จนกลายเป็นเรื่องร้อนและฮือฮาในวงการเมื่อ 10 กว่าปีก่อน พร้อมกับชื่อของ ขำ นุชิตศิริภัทรา ปรมาจารย์พันธุ์ยางนามระบือเมือตรัง วัย 72 ปี และยังเป็นเจ้าของพันธุ์ยาง KT.311 ด้วย

เขานำเสนอยางพันธุ์นี้สู่แวดวงการผลิตยางพารามากว่า 30 ปี แล้ว ตลอดทางเขาจึงมักได้รับ ดอกไม้ จากชาวสวนยางที่นำพันธุ์ของเขาไปปลูกเพราะให้ผลผลิตสูงพร้อมๆ กับ ก้อนอิฐ ที่ขว้างมาจากหน่วยงานราชการ

ถ้าทำผิดผมยอมรับผิด แต่ถ้าความผิดนั้นเป็นประโยชน์ของชาวบ้านทั่วไปที่ได้ส่วนต่างขึ้นมา ผมทำ นี่คือ “มอตโต้ ของ นายขำ ที่ยึดถือเสมอมา

ผู้เขียนเก็บข้อมูลของนายขำและพันธุ์ยาง KT. 311 ทั้งจากเอกสารและจากการพูดคุยกับเขาทางโทรศัพท์มานานพอสมควร ก่อนจะตัดสินใจเดินทางไปหาเขาถึง จ.ตรัง เพื่อ ชำแหละ ชีวิต และพันธุ์ยางของเขาที่การันตีว่าดีกว่าทุกพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรรับรอง
สวนยาง KT.311 อายุมากกว่า 30 ปี ใน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง
จาก PB311 สู่ KT311 พันธุ์ยางนายขำ

นายขำหรือที่คนตรังเรียกเขาว่า
 โกขำ” เล่าถึงที่มาของยางพันธุ์ KT. 311 ว่าเขานำพันธุ์ยางจากมาเลเซียหลายพันธุ์ เพราะมีญาติเป็นชาวมาเลย์จึงสามารถนำพันธุ์ยางเข้ามาในประเทศได้ค่อนข้างง่าย แม้จะเป็นการ “ลักลอบ ก็ตาม

หนึ่งในพันธุ์ยางที่โกขำนำเข้ามาก็คือ
 “PB 311” เมื่อปี 2524 ก่อนจะนำมาขยายพันธุ์ด้วยการติดตาได้จำนวน 2,000 ตา หลังจากนั้นนำมาทำการคัดพันธุ์จนได้ต้นที่ดี และได้จดทะเบียนเป็นแปลงขยายพันธุ์เพื่อจำหน่ายภายใต้ชื่อ PB. 311

ภายหลังมีหน่วยงานราชการเข้ามาขอข้อมูลเรื่องที่มาของสายพันธุ์ เพราะมีการออก พ.ร.บ.ยางขึ้นมาจนมีหนังสือเข้ามาตรวจสอบพันธุ์ยางของนายขำเมื่อประมาณปี 2542
      
ต่อมานายขำเปลี่ยนชื่อพันธุ์ยางจาก PB311 มาเป็น “KT. 311” ซึ่งมีที่มาจาก “KHAM” หรือ ขำ และ TRANG” หรือ “ตรัง ชื่อ KT จึงหมายถึง ชื่อและที่อยู่เจ้าของสายพันธุ์ เป็นการแสดงถึงการการันตีและความรับผิดชอบในสายพันธุ์ที่ปัจจุบันถูกปลูกไปแล้วนับล้านต้นทั่วประเทศ

ต้นกำเนิดของสายพันธุ์
 PB 311 เป็นลูกผสมระว่าง RRIM 600 x PB 235 ที่พัฒนาขึ้นมาโดยมาเลเซีย มีคุณสมบัติดังนี้

ปลูกได้ในทุกสภาพพื้นที่หรือที่เรียกว่า “ฝืนดิน

✔ ให้ผลผลิตสูงสุดในพันธุ์ยางสกุลต่างๆ ที่ปลูกในเมืองไทย เทียบได้จากเอกสารของสถานีวิจัยยางที่แปลจากหนังสือเอกสารมาเลเซีย เพียง 7 ปี ให้ผลผลิตเฉลี่ยถึง 597 กก.

✔  ต้านทานโรคไฟท็อปทอร่าหรือโรคใบร่วง ทั้งๆ ที่ปลูกแปลงเดียวกับพันธุ์อื่น

✔ การผลัดใบช้า ไม่พลัดใบในทีเดียว ทำให้ยืดอายุการกรีดไปได้อีกอย่างน้อย 20 วัน

ทั้งนี้ยางพันธุ์
 RRIM600 เป็นลูกผสมระหว่าง Tjir 1 x 86 ของประเทศมาเลเซีย และ PB235 มาจาก PB5/52 x PB.S.78 ของมาเลเซียเช่นกัน

ปรมาจารย์พันธุ์ยางเมืองตรังเล่าว่า กรมวิชาการเคยขอระงับการขายพันธุ์ยาง
 PB311 ของเขาไว้ก่อน เพราะในยุคที่เขาเป็นคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางหรือ “บอร์ด กสย. เขาเคยหลุดปากในที่ประชุมบอร์ดว่า PB 311 เป็นพันธุ์ที่ดีที่สุดในเมืองไทย หักหน้า” สถาบันวิจัยยาง ที่มีหน้าที่หลักในการพัฒนาสายพันธุ์ยาง

เขาขอให้ระงับการขายพันธุ์ยาง 311 ผมก็ขอเชิญเจ้าหน้าที่สถาบันยางหาดใหญ่ที่เชี่ยวชาญเรื่องสายพันธุ์ ผมพาไปที่บริษัท พีบี มาเลเซีย เพื่อพิสูจน์สายพันธุ์และดูใบรับรองการซื้อขาย” 
นายขำเล่าและให้ข้อมูลใหม่ว่า เมื่อเดือนมีนาคม 53 มีการตรวจดีเอ็นเอปรากฏว่าเป็นพันธุ์ PB 311 กับ KT. 311 เป็นตัวเดียวกัน

อยากให้เกษตรกรลืมตาอ้าปาก แต่กลับถูกบอกว่าเป็นการทำให้สถาบันโดยรมเสีย ผมเคยถามว่าเราเป็นเจ้าแห่งผู้ผลิตยางพารา แต่เรามีสายพันธุ์อะไรที่เป็นของเราบ้าง แม้กระทั่งพันธุ์ 600 ก็ของมาเลเซีย

นอกจากนั้นแล้วนายขำยังเก็บสะสมสายพันธุ์ยางทั้งไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะของมาเลเซียไว้กว่า 3 สายพันธุ์
ยาง KT.311 (ขวา) โตไว
ในภาพเปรียบเทียบกับพันธุ์ 600 ปลูกพร้อมกัน
KT.311 โตไว น้ำยางสูง มาตรฐานมาเลย์

จุดเด่นของ KT311 คือ โตไว เนื้อไม้สวย 5 ปี กรีดได้ ให้น้ำยาง 500 กิโลกรัม/ไร่/ปี (เมื่อกรีดปีที่ 3) ความเข้มข้น DRC มากกว่า 40% ขึ้นไป ปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศ แต่พื้นที่ต่ำที่มีน้ำใต้ดิน 1.50 เมตร หรือที่นาลุ่มไม่ได้ เพราะน้ำแฉะ น้ำขัง ไม่ได้ ยางชอบที่ดินน้ำระบายดี

นายขำบอกว่าเมื่อปี 2540 มีนักวิชาการเกษตรของศูนย์วิจัยยางเคยตรวจสอบแล้ว โดยเก็บข้อมูลจากแปลงยางขนาด 90 ไร่ ได้น้ำยาง 460 กิโลกรัม/ไร่/ปี และเมื่อกรีดเข้าปีที่ 3 แล้วจะได้น้ำยางเกิน 500 กิโลกรัม/ไร่/ปี

ทำไมเราจึงค้นคว้าสายพันธุ์ดีไม่ได้ เราล้าหลัง พันธุ์ 600 เราปลูกมากว่า 40 ปี ตอนนี้ก็ยังดักดานอยู่
 เขาพูดอย่างนี้มาค่อนชีวิต แต่ก็ไร้เสียงตอบจากปลายสาย

นายขำเผยข้อมูลลับว่ามีหลายบริษัทที่นำพันธุ์ยางดีๆ มาปลูก โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ๆ ที่ลงทุนปลูกยางนำพันธุ์จากมาเลเซียเข้ามาปลูกในสวนของตนเอง 

เราไปปิดกั้นคนอื่นไม่ได้ เขาก็ต้องหาทางออก ไม่มีใครปลูกยางพันธุ์ที่มีคุณภาพต่ำ โดยธรรมชาติของมนุษย์ต้องหาพันธุ์ที่ดีกว่า

ผลิตกล้ายาง KT.311 ปีละ 4-5 แสนตัน

วิธีการขยายพันธุ์ยาง
 KT311 ของนายขำให้ความสำคัญตั้งแต่ขั้นตอนการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์สำหรับนำมาเพาะเป็นต้นตอ ต้องมาจากต้นยางที่มีอายุไม่น้อยกว่า 25 ปี ต้นแม่ที่สมบูรณ์แข็งแรงเต็มที่เมล็ดที่ได้ก็จะสมบูรณ์แข็งแรงเช่นกัน นายขำบอกความสำคัญ

ทั้งนี้เขามีพื้นที่ปลูกแม่พันธุ์กว่า 30 ไร่ และพื้นที่สำหรับผลิตต้อตอและขยายพันธุ์ยางตาเขียวและชำถุงกว่า 200 ไร่ โดยใช้เทคนิคการผลิตผสมผสานระหว่างของไทยกับมาเลเซีย
 

กล้ายางชำถุงพันธุ์ KT.311
ชัดเจนที่สุด คือ การเพาะต้นตอยางชำถุง เขาจะใช้วิธีเพาะเมล็ดกล้ายางในถุงขนาด 34 x 64 ซม. ที่มีดินแดงเป็นเครื่องปลูกประมาณต้นละ 3-4 เมล็ด เลี้ยงกล้าประมาณ 8 เดือน ช่วงนี้ดูแลโดยใส่ปุ๋ย 16-16-16 และปุ๋ยอินทรีย์ จากนั้นจะเลือกต้นที่สมบูรณ์เพียงต้นเดียวสำหรับติดตา ก่อนจะเลี้ยงอีก 2 ปี แล้วจึงนำไปปลูก เป็นเทคนิคที่เรียกว่า บัดดิ้ง เพาะเมล็ดในถุงแล้วติดตา

วิธีนี้จะช่วยให้ระบบรากแข็งแรงเพราะไม่มีการถอนราก จะเดินเร็ว ต้นโตไว และใช้เวลาเพียงแค่ 4 ปี ก็สามารถเปิดกรีดได้เร็วกว่าเดิมที่ต้องใช้เวลา 6-7 ปี 
แปลงแม่พันธุ์
แรกๆ ล้มเหลว ได้ผลแค่ 10-20% เพราะเห็นเขาทำแล้วนำมาทดลองทำ นึกว่าง่ายๆ เป็นเทคนิคจากมาเลย์ น้ำเป็นตัวแปร น้ำต้องถึงตลอดทั้ง 8 เดือน วันละ 2 ครั้ง เพราะกล้าอยู่ในถุงจะแห้งเร็ว จึงต้องรดน้ำประจำ

สำหรับยางพันธุ์
 KT311 ของนายขำจะผลิตกล้าเพียงปีละ 4-5 แสนต้น เท่านั้น และมีขายที่นายขำเพียงแห่งเดียว ถ้าใครจะซื้อต้องมีใบเสร็จรับเงินจากลุงขำ เพราะไม่ได้ให้ใครทำ ลุงขำขยายพันธุ์ขายที่เดียวเท่านั้น  ที่เขาต้องพูดเช่นนี้ก็เพราะมีการแอบอ้างขายสายพันธุ์ยาง นายขำ” ปลอมในหลายพื้นที่โดยเฉพาะภาคอีสาน

ยางพันธุ์
 KT311 ราคากล้ายางตาเขียว 29-35 บาท และยางชำถุง 50-60 บาท

ปลูกยางพันธุ์ดี “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

คำถามก็คือ ทุกวันนี้ในการผลิตยางพาราเมื่อมองในมิติของผลผลิตต่อไร่ สายพันธุ์ยังถือเป็น
 จุดบอด เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ยังปลูกพันธุ์ดั้งเดิมที่ภาครัฐแนะนำ

ชาวสวนควรทำอย่างไร...???

ประเด็นนี้นายขำชี้ทางสว่างว่า
 ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เกษตรกรต้องรู้เท่าทัน ตรงไหนดีก็ปลูกถ้าผลผลิตมันได้เยอะจริง ผิดกฎหมายบางทีก็ต้องยอม เขาแนะนำการหลีกหลีทางตัน และดูเหมือนว่าจะเป็นทางเดียวที่จะ ปลดล็อค เชือกเส้นนี้ได้

ขายและปลูกในไทยร่วม 3 ทศวรรษ

ยางพันธุ์
 KT.311 เป็นพันธุ์ที่นายขำผลิตและจำหน่ายมาเป็นเวลากว่า 30 ปี พอๆ กับอายุยางแปลงที่เขาปลูก และถูกนำไปปลูกประสบความสำเร็จในทุกภูมิภาคหลายจังหวัด

ปัจจุบันกระแสยางมาเลเซียเริ่มดังและเป็นที่ต้องการสูง แม้ราคาแพงกว่าพันธุ์เดิมก็ตาม ทำให้มีการลักลอบนำเข้ามาขยายพันธุ์และจำหน่ายเป็นกล้ายางจำนวนมาก
ถ้าผิดพลาดใครรับผิดชอบ จะเชื่อได้อย่างไร ต้องเสี่ยงเอาเองดีที่สุด การเลือกต้องดูว่ามีตัวอย่างที่ปลูกแล้วสำเร็จในเมืองไทยหรอืไม่ พันธุ์ของผมไปดูได้ที่แปลงใน จ.ต่างๆ ผมขายมา 30 ปี แล้ว เช่น เลย จันทบุรี และตรัง เป็นต้น คนที่ซื้อไปแล้วประสบผลสำเร็จเขาก็บอกต่อ

สิ่งที่ต้องระวัง คือ การที่พูดปก ถ้าสิ่งที่พูดไม่จริงกระทบตรงกับครอบครัว ลูก หลาน  ถ้าหลอกเขาคนเขารู้ 30 ปี แล้ว
 โกขำพูดน้ำเสียงหนักแน่นและจริงจัง

นายขำแนะนำว่าถ้าเป็นไปได้เกษตรกรควรทดลองนำสายพันธุ์ยางต่างๆ มาทดลองปลูกเพื่อดูว่าพันธุ์ไหนดีที่สุด เป็นการคัดเลือกพันธุ์ยางที่จะปลูกอย่างง่ายและชัวร์ที่สุด

แนะกรีดยางเมื่อต้นพร้อม

อย่างไรก็ตามการเริ่ม นับหนึ่ง ของการกรีดยางเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าเป็นยางพันธุ์ดี แต่ถ้าเริ่มเปิดหน้ายางก่อนกำหนดก็สร้างความเสียหายไม่ต่างกับการปลูกยางพันธุ์เลย ต้นที่พร้อมกรีด คือ วัดจากพื้นดิน 150 ซม. วงรอบต้น 50 ซม. และต้องมีขนาด 80-90% ของสวน จึงจะกรีดได้ 
ถ้ากรีดยางก่อนกำหนดจะเห็นว่าเนื้องอกขึ้นมาเองทำให้หน้ายางเสีย นั่นแสดงว่าเปิดกรีดก่อนอายุ” โกขำให้จุดสังเกตง่ายๆ

แนะกรีดยางหน้าสั้น ยืดอายุยาง

นอกจากการกรีดเมื่อต้นยางสมบูรณ์แล้ว รูปแบบการกรีดยังถือเป็นเรื่องสำคัญ นายขำเซียนยางเมืองตังแนะนำว่าการกรีดยางที่ดีควรทำแบบ
 หน้าสั้น โดยการแบ่งหน้ายางเป็น 4 ส่วน หน้ากรีดยาวประมาณ 5-6 นิ้ว หรือ 1 ใน 4 เขาบอกว่าการกรีดวิธีนี้ไม่มีผลต่อปริมาณน้ำยางเพราะได้พอๆ กับการกรีด หน้ายาว หรือครึ่งต้นอย่างที่นิยมกัน สำคัญที่สุด คือ เสียหน้ายางจากการกรีดน้อย

ผมทำมาตั้งนานแล้ว” นายขำบอก และเสริมว่า “กรีดยางหน้าสั้นทำให้กรีดได้ไวขึ้นเ สียหน้ายางน้อย ไม่ต้องกลัวโรคเพราะหน้ายางสั้น เจ้าของสวนไม่ต้องรักษาหน้ายางมากนัก เพราะการรักษาหน้ายางและคนกรีดที่มีฝีมือยางสำคัญที่สุด เรายังยืดอายุต้นให้ได้นานขึ้น

เทคนิคการกรีดยางหน้าสั้นโกขำแนะว่าใน 1-2 ปีแรก ต้องกรีดวันเว้นวัน ตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป เปลี่ยนมากรีด 3 วัน เว้น 1 วัน
 
กรีดยางหน้าสั้น หรือ 4 ส่วน ยืดอายุกรีด
เทคนิคใส่ปุ๋ยน้อย ได้ผลมาก

เรื่องการใส่ปุ๋ยยางที่เป็นอาหารหลักของยางพารา นายขำเผยเคล็ดลับส่วนตัวอย่างไม่ปิดบังว่า การให้ปุ๋ยจะให้ตรงกลางระหว่างแถวโดยการ “ขุดบ่อใส่ปุ๋ย” ง่ายๆ ก็คือ ขุดหลุมตรงกลางระหว่างแถวต้นยางโดยขุดเว้นทุกๆ 3 ต้น ขุดสลับระหว่างแถวเป็นฟันปลาแล้วใส่ปุ๋ยในบ่อ วิธีนี้จะเป็นการล่อให้เกิดรากใหม่เพื่อไปกินปุ๋ย รากใหม่จะเกาดินดี “ใส่ยางตั้งแต่ก่อนเปิดกรีด 1 ปี 6 ต้น 2 กิโล ใส่น้อยและได้ผลมาก

ราคายางสูงเกิน ระเบิดเวลาลูกใหญ่ของอุตสาหกรรมยางโลก


ปรมาจารย์ยางพาราวัย 7ปี ทมองภาพรวมของยางพาราไทยในยุคราคาสูงๆ วันนี้ราคา 160 กว่าๆ ว่า “มันแพงไปหน่อย” ก่อนจะเสริมว่า 

ผมร่วมงานสัมมนาของ สกย.มามีการวิเคราะห์ยางว่าตลาดใหญ่ของเรา คือ จีนและอินเดีย จีนเก่งเรื่องการลอกเลียน ก็อปปี้ ตอนนี้เขาหันไปใช้ยางสังเคราะห์ที่ทำจากน้ำมันมากขึ้น เพราะยางธรรมชาติราคาสูงผิดปกติ ราคาสูงมากๆ ผมไม่เห็นด้วย เพราะต้นทุนราคาแค่ 40 บาท ทำให้ภาพรวมเสียหาย เพราะสินค้าต่างๆ ก็สูงขึ้นตาม ขึ้นแล้วไม่ค่อยลง ปุ๋ยยาสูงขึ้น ยางราคา 60-90 กำลังดี อย่าเกิน 100 บาท หากราคาลงก็ต้องทำใจ ถ้าราคาลงแต่อย่าต่ำกว่า 60 บาท

อย่างไรก็ตามเขายังมองว่าปัจจุบันยังไม่มีพืชตัวไหนที่ดีกว่ายาง น้ำยางขายได้ ไม้ก็ขายได้ เพียงแต่ต้องเลือกปลูกพันธุ์ยางที่ให้น้ำยางดีและเนื้อไม้ดีคู่กัน
สวนยาง KT.311 อายุ 4 ปี ที่ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
ลุงขำ กลับยาง KT.311 อายุ 1 ปี 
ขนาดต้นยางพันธุ์ KT.311 อายุมากกว่า 30 ปี ยังกรีดได้ดี ให้น้ำยางเยอะ
ขอขอบคุณ
ขำ นุชิตศิริภัทรา
37/10 ถ.เจิมปัญญา อ.เมือง จ.ตรัง 92000
โทรศัพท์ 08-1979-9999



no

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *